ประวัติสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
**************************
สถานศึกษาเอกชนประเภทอาชีวศึกษา
มีจำนวนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ
และการผลิตกำลังคนให้สนองความต้องการของตลาดแรงงาน
ด้วยวิสัยทัศน์ของคณะผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ผู้พร้อมด้วยคุณวุฒิ
วัยวุฒิ และประสบการณ์ ได้แก่ อาจารย์เล็ก บูรณะสมบัติ
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย อาจารย์ดร.ณรงค์ มงคลวณิช
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างกลสยาม อาจารย์อุดม
แสงหิรัญ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนกรุงเทพช่างกล อาจารย์ชลอ กมลพันธ์
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนพณิชยการเจ้าพระยา อาจารย์ศุภชัย แย้มชุติ
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างกลอุตสาหกรรมและพณิชยการหมู่บ้านครู อาจารย์สุนทร (กุศล)
เปรมฤทัย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีเปรมฤทัย อาจารย์เพทาย อมาตยกุล
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนพณิชยการสันติราษฎร์ อาจารย์ ดร.กมล ชูทรัพย์
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนพณิชยการตั้งตรงจิตร อาจารย์อาภรณ์ อินฟ้าแสง
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนกรุงเทพวิจิตรศิลป์ อาจารย์สันต์ พรนิมิตร
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนพณิชยการจรัลสนิทวงศ์ อาจารย์พูน ปัณยาลักษณ
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างฝีมือปัญจวิทยา อาจารย์มุข วงษ์ชวลิตกุล ผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างกลพณิชยการนครราชสีมา
อาจารย์ ดร.สุข พุคยาภรณ์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างกลไทยสุริยะ
อาจารย์ดุษฎี จุลชาต ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนพณิชยการราชดำเนิน และ
อาจารย์ประชา เลขวัต โรงเรียนเทคนิควิทยา
จึงมีความเห็นร่วมกันในการจัดตั้งชมรมขึ้นที่โรงเรียนพณิชยการเจ้าพระยา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความผูกพันและความร่วมมือในด้านวิชาการ การบริหาร
และเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการในด้านการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
ด้วยจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น จึงมีความสัมพันธ์อย่างสูง
และมีความเป็นเอกภาพขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖
ได้มีความเห็นชอบร่วมกันที่จะดำเนินการก่อตั้งเป็นสมาคม
ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคลตามกฎหมายขึ้น โดยอาจารย์เล็ก บูรณะสมบัติ เป็นประธาน
และยื่นเรื่อง ขอจัดตั้งสมาคมในปี พ.ศ. ๒๕๑๗
จากการจัดประชุมใหญ่โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนทั่วประเทศ มีมติให้อาจารย์สุนทร
เปรมฤทัย เป็นนายกสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยเป็นท่านแรก
แต่การขออนุญาตจัดตั้งสมาคมยังไม่สมบูรณ์
หลังจากการยื่นเรื่องต่อสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และสันติบาล จนปี พ.ศ. ๒๕๒๓
อาจารย์อุดม แสงหิรัญ ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกสมาคม จึงได้มีการทบทวนเรื่องการขอใบอนุญาตการจดทะเบียนการจัดตั้งสมาคมอีกครั้งหนึ่งประกอบกับการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคม
ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับสถานที่ตั้งของสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยขึ้น
ณ เลขที่ ๙๗/๑ ถนนสุขุมวิท เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร คือโรงเรียนกรุงเทพช่างกล ณ
เวลานั้น และนอกจากนั้นยังมีมติเห็นชอบให้อาจารย์อาภรณ์ อินฟ้าแสง
ผู้รับใบอนุญาตและเจ้าของโรงเรียนกรุงเทพวิจิตรศิลป์เป็นผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์ของสมาคม
ซึ่งปรากฎเป็นตราเรือใบ
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความเจริญรุ่งเรืองด้านการพาณิชยศาสตร์หรือความมั่งคั่งด้านการค้าและบริการ
และองค์พระวิษณุกรรมซึ่งเป็นองค์เทพเจ้าที่สร้างความเจริญทางด้านวัตถุ
เพื่อความสะดวกสบายของมนุษย์ ด้านกิจการอุตสาหกรรมทั้งหลาย ทั้งปวง ทุกประเภทในโลก
ซึ่งยังคงเป็นตราสัญลักษณ์ทางสมาคม ตั้งแต่บัดนั้นมาจวบจนปัจจุบัน
ต่อมาจึงได้รับใบอนุญาตจดทะเบียนสมาคม
อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๖ จากการประชุมประจำปีสมาชิกทั่วประเทศ
ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ ณ สโมสรราชนาวีฐานทัพเรือสัตหีบ
สมาชิกสมาคมมีแนวคิดที่จะจัดตั้งสำนักงานของสมาคม เป็นการถาวร
โดยมีท่านอาจารย์สุข พุคยาภรณ์ เจ้าของโรงเรียนเทคโนโลยีไทยสุริยะ
ได้มอบเงินกองทุนประเดิมให้ในวันนั้นเป็นเงินสด ๘๐,๐๐๐ บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน)
เป็นคนแรก และมีผู้รับใบอนุญาตท่านอื่นๆ รวมเป็นกองทุนจำนวนทั้งสิ้น ๑,๑๔๙,๐๐๐ บาท
(หนึ่งล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นเก้าพันบาทถ้วน)
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙
คณะกรรมการบริหารสมาคมมีมติให้ซื้ออาคารที่ทำการพร้อมที่ดิน เลขที่ ๑๐๙๗/๒๕-๓๖
ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในราคา ๑,๗๑๑,๗๓๙.๙๘ บาท
ซึ่ง ดร.พิชัย บูรณะสมบัติ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมในขณะนั้น
ได้ดำเนินการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าว เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน
๒๕๒๙ โดยนายกสมาคมฯ
ใช้เงินส่วนตัวให้สมาคมยืมเพื่อนำไปชำระในส่วนที่ยังไม่ครบจำนวน ๕๖๔,๗๓๙.๙๘ บาท
(ห้าแสนหกหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยสามสิบเก้าบาทเก้าสิบแปดสตางค์) ตลอดจนจัดหาเครื่องใช้สำนักงานและออกแบบตกแต่งสถานที่
ซึ่งออกแบบและตกแต่งภายในสำนักงาน โดย ดร.พันธ์ศักดิ์ ว่องกสิกร
มีที่ปรึกษาสำคัญคือ พล.อ.ท.โภคัย ว่องกสิกร ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์
ทั้งนี้เป็นการออกแบบติดตั้งโดยไม่คิดมูลค่าของการใช้สมองและแรงงานต่อเนื่อง
ต่อมาสมาคมได้ดำเนินการชำระคืนเงินจำนวนดังกล่าวไปเป็นที่เรียบร้อย
สมาคมจึงมีสำนักงานเป็นที่ตั้งถาวรจนถึงปัจจุบัน
นายกสมาคมและกรรมการบริหาร
ตลอดจนสมาชิกในแต่ละยุคสมัยตลอดระยะเวลา ได้มีการทุ่มเทกำลังกาย
เสียสละเพื่อพัฒนาสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทยให้
เป็นศูนย์รวมของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนทั่วประเทศ
ในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษา ตลอดจนประสานงานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ
หน่วงานภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ
ในการพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษาส่งผลสู่การยกระดับคุณภาพบุคลากรวิชาชีพของประเทศ
สืบเนื่องจากการขับเคลื่อนของสมาคมฯ
ที่มุ่งเน้นส่งเสริมสถานศึกษาให้สามารถดำเนินการจัดการสถานศึกษาของแต่ละสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีการพัฒนาศักยภาพของสถานศึกษาและเตรียมรองรับประชาคมอาเซียน (ASEAN ECONOMIC
COMMUNITY) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๔ กระทรวงศึกษาธิการ
ภายใต้การนำของรัฐมนตรีจุลินทร์
ลักษณะวิศิษย์
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ ร่วมกับสภาการศึกษา โดย ดร.จีระพันธ์ พิมพ์พันธ์ และ
ดร.วีรวัฒน์ วรรณศิริ นายกสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ขณะนั้น
และชาวการศึกษาเอกชนทั้งมวลได้ร่วมกันผลักดันให้มีการแก้ไข
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฉบับเดิม จนเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๔
โดยข้อสรุปคือในส่วนของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ให้โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน
สามารถใช้คำนำหน้าเป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนหรือวิทยาลัยเทคโนโลยี” ได้ตาม
พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน (ฉบับแก้ไข) พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้นคือ
นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ และนายชัย ชิดชอบ
เป็นประธานสภาผู้แทนราษฏรและประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา โดย นายนิคม ไวรัชพานิช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงประปรมาภิไธย
ในระยะต่อมา ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้จนปัจจุบัน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔
คณะกรรมการสมาคม โดย ดร.วีรวัฒน์ วรรณศิริ นายกสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
จึงได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อสมาคม เป็น สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.อ.)
เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของสมาคม และพัฒนาศักยภาพของการอาชีวศึกษาเอกชน
พร้อมรองรับการเป็นประชาชมอาเซียน (AEC) ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ต่อไป
สมาคมวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีการประชุมผู้บริหารและครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน
ครั้งที่ ๓๖ ทั้งนี้ทรงได้รับพระกรุณาจากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชาทินัดดามาตุ
เสด็จไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมใหญ่ทางวิชาการ ผู้บริหาร
คณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนทั่วประเทศ ในวันศุกร์ที่ ๗ ตุลาคม
๒๕๕๔ ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพมหานคร
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จเปิดการประชุม “Dual Excellence
Conference” หรือการประชุมการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ
จัดโดยสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถานทูต ณ
กุรงเบอร์ลิน และสมาพันธ์คุณวุฒิวิชาชีพแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี เมื่อวันที่ ๗
ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมเซ็นทารา
และคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี และเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
อยู่ในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
และเป็นสิริมงคลแก่ชาวอาชีวศึกษาเอกชนทั้งมวล
ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพที่มีคุณภาพรับใช้ประเทศไทยสืบไป
ในวาระคณะกรรมการโดย รศ.ดร.จอมพงศ์
มงคลวนิช นายกสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การจัดระบบโครงสร้างการบริหารสมาคมให้ครอบคลุ่มทั่วประเทศ
สมาคมได้จัดการบริหารเป็น กลุ่มภูมิภาค ๔ กลุ่มภูมิภาคและกลุ่มกรุงเทพมหานคร
นอกจากนั้นยังมีอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดเป็นศูนย์กลางของสถานศึกษาประเภทอาชีวศึกษาภายในจังหวัดต่าง ๆ
โดยในปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น ๔๕๘ แห่ง ได้แก่
๑.
กลุ่มกรุงเทพมหานคร ๗๑ แห่ง
๒.
กลุ่มภาคกลาง ๑๐๙ แห่ง
๓.
กลุ่มภาคใต้ ๕๔ แห่ง
๔.
กลุ่มภาคเหนือ ๕๑ แห่ง
๕.
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๗๓ แห่ง
รายนามนายกสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
(พ.ศ.๒๕๑๗ - พ.ศ.๒๕๕๕) และสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
(๒๕๕๕-ปัจจุบัน) ดังต่อไปนี้
๑.
อาจารย์สุนทร เปรมฤทัย พ.ศ.๒๕๑๗ - พ.ศ. ๒๕๒๒
๒.
อาจารย์อุดม แสงหิรัญ พ.ศ.๒๕๒๓ - พ.ศ.๒๕๒๘
๓.
อาจารย์ดร.พิชัย บูรณะสมบัติ พ.ศ.๒๕๒๙ - พ.ศ. ๒๕๓๔
๔.
อาจารย์ดร.นิมิตร จิวะสันติการ พ.ศ.๒๕๓๕ - พ.ศ.๒๕๓๘
๕.
อาจารย์ดร.พิชัย บูรณะสมบัติ พ.ศ.๒๕๓๙ - พ.ศ.๒๕๔๐
๖.
อาจารย์ดร.วีรวัฒน์ วรรณศิริ พ.ศ.๒๕๔๑ - พ.ศ.๒๕๔๒
๗.
อาจารย์ดร.อินทร์ จันทร์เจริญ พ.ศ.๒๕๔๓ - พ.ศ.๒๕๔๖
๘.
อาจารย์ดร.บัญชา เกิดมณี พ.ศ.๒๕๔๗ - พ.ศ.๒๕๕๐
๙.
อาจารย์ดร.วีรวัฒน์ วรรณศิริ พ.ศ.๒๕๕๑ - พ.ศ.๒๕๕๔
๑๐.
อาจารย์ดร.อินทร์ จันทร์เจริญ พ.ศ.๒๕๕๔ - พ.ศ.๒๕๕๗
๑๑.
รองศาสตราจารย์ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช พ.ศ.๒๕๕๗ - พ.ศ.๒๕๖๐
๑๒.
อาจารย์ดร.อดิศร สินประสงค์ พ.ศ.๒๕๖๐ - พ.ศ.๒๕๖๔
๑๓.
อาจารย์ดร.ประเสริฐ กลิ่นชู พ.ศ.๒๕๖๕ - พ.ศ.๒๕๖๗ ๑๔. อาจารย์วิเชียร เนียมน้อม พ.ศ.๒๕๖๗ - จนถึงปัจจุบัน
|